รวมเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ “กรุงเทพฯ” พบหลักฐานครั้งแรก สมัยช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ผ่านมา 200 กว่าปี ก็ยังไม่หลุดพ้น

ประเทศไทยประสบปัญหาน้ำท่วมหรืออุทกภัยมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน บางพื้นที่ประสบปัญหานี้ทุกปีจนกลายเป็นเรื่องปกติที่ยากจะทำใจ แต่ก็ต้องจำใจยอมรับในวิถีของธรรมชาติ ส่วนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงนั้น เคยเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่หลายครั้ง ไม่นับรวมกับน้ำรอระบายที่กลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังแก้ไม่หาย และนี่คือเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในเมืองกรุง ที่หลายคนไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก

1724721186092

พุทธศักราช 2328

สำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ครั้งแรกนั้น พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 บันทึกว่า เกิดขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2328 อันเป็นปีมะเส็ง หลังจากสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เสร็จไม่นานนัก น้ำล้นมากโข จนทำให้ระดับน้ำที่สนามหลวงลึกถึง 8 ศอก 10 นิ้ว บรรดาข้าราชการและพระบรมวงศานุวงศ์ต้องจอดเรือเทียบมาเข้าเฝ้าถึงพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ข้าวแพงถึงเกวียนละชั่ง ประชาชนขัดสนเดือดร้อนหนัก จนต้องมีการนำข้าวเปลือกในยุ้งหลวงมาแจกจ่ายเพื่อช่วยเหลือ

พุทธศักราช 2362

ถัดจากนั้นมา 34 ปี เกิดน้ำท่วมใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 2 เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2362 ปีเถาะ ระดับน้ำที่ท้องสนามหลวง น้ำลึก 6 ศอก 8 นิ้ว และยังไหลท่วมเข้าไปยัง พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน จนเสด็จออกว่าราชการไม่ได้ จนต้องทรงย้ายไปว่าราชการที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

พุทธศักราช 2485

ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน ถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 8 เกิดฝนตกหนักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา เพิ่มขึ้นสูงจนล้นคันกั้นน้ำตลอดทั้งสองฝั่ง โดยวัดระดับน้ำท่วมที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ 2.27 เมตร ส่วนที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า น้ำสูงถึง 1.50 เมตร เหตุการณ์นี้ทำให้น้ำท่วมพระนครนานถึง 3 เดือน นับเป็นอุทกภัยที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่อย่างเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ เพื่อมากักเก็บน้ำ

1724664331390

พุทธศักราช 2518

เป็นปีแรกที่คนเมืองหลวงได้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้ง นั่นคือ นายธรรมนูญ เทียนเงิน จากพรรคประชาธิปัตย์ โดยพายุดีเปรสชั่นได้พาดผ่านตอนบนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ภาคกลางตอนบนมีปริมาณน้ำสูงจนระบายไม่ทัน เป็นเหตุให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมกรุงเทพฯ

พุทธศักราช 2521

เหตุการณ์น้ำท่วมในปีนี้เกิดจากพายุสองลูกชื่อ ‘เบส’ และ ‘คิท’ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ระดับน้ำสูงสุดของปีนั้นที่เชิงสะพานเสรีประชาธิปไตยอยู่ที่ 12.76 เมตร นอกจากนั้น ยังเกิดน้ำไหลบ่าจากแม่น้ำป่าสัก ทำให้น้ำปริมาณมากไหลจากทุ่งด้านตะวันออกเข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ

650483

พุทธศักราช 2526

เกิดน้ำท่วมร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากพายุดีเปรสชัน 2 ลูก คือ เฮอร์เบิร์ตและคิม พัดผ่านเข้ามายังในประเทศไทย วัดปริมาณฝนทั้งปี 2,119 มิลลิเมตร ทำให้ฝนตกหนักจนเขื่อนและอ่างเก็บน้ำรองรับปริมาณน้ำไม่ไหว ทำให้น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคตะวันออก

หลังจากนั้น เกิดน้ำทะเลหนุนสูงทำให้น้ำท่วมเข้ามาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยเริ่มจากฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ก่อนจะขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในถนนกว่า 30 สาย และสร้างความเสียหายแก่พื้นที่ทำการเกษตรในฝั่งธนบุรี