Home ข่าววันนี้ ปภ. เตือนด่วน 11 จังหวัด เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก 23-26 ก.พ.

ปภ. เตือนด่วน 11 จังหวัด เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก 23-26 ก.พ.

13

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประกาศเตือน 11 จังหวัด เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง 23-26 ก.พ. 2568

วันที่ 23 ก.พ. 2568 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือน 11 จังหวัดภาคกลางและภาคใต้ ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เฝ้าระวังสถานการณ์ท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง ระหว่างวันที่ 23 – 26 ก.พ. 2568

ปภ. เตือนด่วน 11 จังหวัด เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก 23-26 ก.พ.

โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอเกาะสมุย และอำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เฝ้าระวังสถานการณ์ภัยเป็นพิเศษ ในวันที่ 24 ก.พ. 2568 พร้อมจัดทีมปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัยเข้าประจำพื้นที่เสี่ยงเพื่อเข้าเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดภัย รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนปฏิบัติตามประกาศแจ้งเตือนภัยจากทางราชการอย่างเคร่งครัด

โดย นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ได้ติดตามสภาวะอากาศ พิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับได้มีการวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ แนวโน้มพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักมาก และการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝน พบว่า มีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ ระหว่างวันที่ 23 – 26 กุมภาพันธ์ 2568 แยกเป็น

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง ระหว่างวันที่ 23 – 26 กุมภาพันธ์ 2568

ภาคกลาง 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 4 อำเภอ (อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพาน และอำเภอบางสะพานน้อย)

ภาคใต้ 8 จังหวัด ได้แก่

จังหวัดชุมพร 6 อำเภอ (อำเภอเมืองชุมพร อำเภอสวี อำเภอทุ่งตะโก อำเภอหลังสวน อำเภอละแม และอำเภอท่าแซะ) จังหวัดสุราษฎร์ธานี 10 อำเภอ (อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอท่าชนะ อำเภอไชยา อำเภอดอนสัก อำเภอคีรีรัฐนิคม อำเภอพุนพิน อำเภอพระแสง อำเภอเกาะสมุย อำเภอเกาะพะงัน และอำเภอเวียงสระ) จังหวัดนครศรีธรรมราช 13 อำเภอ (อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอขนอม อำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา อำเภอนบพิตำ อำเภอพรหมคีรี อำเภอหัวไทร อำเภอชะอวด อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอปากพนัง อำเภอลานสกา อำเภอถ้ำพรรณรา และอำเภอทุ่งใหญ่) จังหวัดพัทลุง 7 อำเภอ (อำเภอเมืองพัทลุง อำเภอควนขนุน อำเภอเขาชัยสน อำเภอบางแก้ว อำเภอปากพะยูน อำเภอกงหรา และอำเภอศรีนครินทร์) จังหวัดสงขลา 9 อำเภอ (อำเภอเมืองสงขลา อำเภอระโนด อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสทิงพระ อำเภอสิงหนคร อำเภอรัตภูมิ อำเภอหาดใหญ่ อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอนาหม่อม) จังหวัดปัตตานี 10 อำเภอ (อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอไม้แก่น อำเภอกะพ้อ อำเภอยะรัง อำเภอสายบุรี อำเภอยะหริ่ง อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอปะนาเระ อำเภอหนองจิก และอำเภอมายอ) จังหวัดยะลา 6 อำเภอ (อำเภอเมืองยะลา อำเภอกรงปินัง อำเภอธารโต อำเภอบันนังสตา อำเภอยะหา และอำเภอรามัน) จังหวัดนราธิวาส 11 อำเภอ (อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอบาเจาะ อำเภอศรีสาคร อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอยี่งอ อำเภอระแงะ อำเภอรือเสาะ อำเภอจะแนะ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงปาดี และอำเภอตากใบ)

***โดยเฉพาะจังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอเกาะสมุย และอำเภอเกาะพะงัน) ให้เฝ้าระวังเป็นพิเศษ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมขังในพื้นที่ชุมชน วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2568

ภาคกลาง 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี 3 อำเภอ (อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอบางละมุง และอำเภอศรีราชา) และจังหวัดระยอง 5 อำเภอ (อำเภอเมืองระยอง อำเภอบ้านค่าย อำเภอเขาชะเมา อำเภอปลวกแดง และอำเภอนิคมพัฒนา)

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้ประสานแจ้ง 11 จังหวัดภาคกลางและภาคใต้ รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ เขต 11 สุราษฎร์ธานี เขต 12 สงขลา และเขต 17 จันทบุรี ให้เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยในช่วงดังกล่าว โดยได้กำชับให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน และสถานการณ์น้ำในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกหนักและพื้นที่ที่มีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอุทกภัยได้

สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ โดยเฉพาะถ้ำน้ำตก ถ้ำลอด หากมีความเสี่ยงเกิดสถานการณ์ภัยให้ประกาศแจ้งเตือนและปิดกั้นพื้นที่ไม่ให้บุคคลใดเข้าพื้นที่ พร้อมกันนี้ให้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัย และพร้อมเข้าเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีหากเกิดสถานการณ์ขึ้น ตลอด 24 ชั่วโมง

และขอให้จังหวัดประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้าเพื่อให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์โดยปฏิบัติตามคำแนะนำจากทางราชการอย่างเคร่งครัด