เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การปิดกิจการของโรงงานอุตสาหกรรม สถิติเปิดตัวของโรงงานอุตสาหกรรมใน 5 เดือนแรก (มกราคม- พฤษภาคม) ของปี 2567 มีทั้งสิ้น 1,009 โรงงาน มูลค่าเฉลี่ย 170 ล้านบาท เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2566 เปิดตัว 809 โรงงาน ขนาดโดยเฉลี่ย 78 ล้านบาท ต่อโรงงาน สะท้อนให้เห็นว่า ขนาดของโรงงานที่เปิดเป็นโรงงานที่มีขนาดใหญ่ขึ้น นายเกรียงไกร กล่าวว่า
สถิติการปิดตัวของโรงงาน โดย 5 เดือนแรกในปี 2567 ปิดไปกว่า 600 โรงงาน มูลค่าเฉลี่ย 27 ล้านบาทต่อโรงงาน ส่วนในปี 2566 ปิดตัวลงไป 358 โรงงาน มูลค่าเฉลี่ย 110 ล้านบาท ทำให้เห็นว่า ผู้ประกอบการขนาดเล็กหรือเอสเอ็มอี กำลังแข่งขันไม่ไหว การเข้าถึงแหล่งเงิน ธนาคารก็มีความเข็มงวดในการปล่อยกู้ ส่วนจะรอดิจิทัล วอลเล็ตก็คงไม่ไหวแล้ว
การปิดตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ น่าเป็นห่วงที่สุด เพราะมีการสำรวจพบว่า คนที่ทำงานในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ มี 7 แสนกว่าคน เพราะฉะนั้น การที่บริษัทใหญ่ของญี่ปุ่น 2 ราย ทั้งซูซูกิ และซูบารุที่เพิ่งปิดโรงงานในไทยไป ก็ทำให้ซัพพลายเชนเอสเอ็มอีทั้งหลายที่อยู่ในห่วงโซ่ได้รับผลกระทบ และจะปิดตามไปเพิ่มอีกไม่รู้เท่าไหร่ ขณะที่ฮอนด้ากำลังจะยุบฐานการผลิตที่จ.อยุธยา ไปรวมเหลือแค่ฐานที่ปราจีนบุรีที่เดียว เท่ากับลดการผลิตไปมากกว่าครึ่ง ” นายเกรียงไกร กล่าว นายเกรียงไกร กล่าวว่า ดังนั้น เอสเอ็มอี ได้รับผลกระทบมาตั้งแต่ช่วงโควิด
ทั้งจากโควิด การขาดสภาพคล่อง ต้นทุนการผลิต ค่าแรง ค่าไฟที่สูงขึ้น รวมทั้ง สงครามการค้า ถือว่าเอสเอ็มอียังเป็นลองโควิด และเปราะบางอย่างมาก มีโอกาสที่จะปิดตัวมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงสินค้าส่งออกของไทยนั้น ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมานาน ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าสูง และกลุ่มสินค้าไฮเทค ยังไม่ค่อยเข้ามาในประเทศ